องค์การบริหารส่วนตำบลท่าใหญ่ อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ : www.thayai.go.th

 
 
สถานที่ท่องเที่ยว

 
แหล่งค้นพบฟอสซิลไดโนเสาร์ แหล่งใหม่ในประเทศไทย อายุราว 210 ปี
ณ บ้านโนนศรีทองและบ้านภูนกเขียน ตำบลท่าใหญ่ อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ

 
สาระและความสำคัญ
                ฟอสซิลหรือซากดึกดำบรรพ์ คือ ซาก หรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตที่ตายลงและส่วนที่เป็นเนื้อเยื้อสลายไปเหลือเพียงโครงสร้าง หรือมีการเปลี่ยนแปลงแทนที่เนื้อเยื้อ เช่น กระดูกของไดโนเสาร์ ฟอสซิลของหอย ฟอสซิลของปะการัง เป็นต้น
                นักวิชาการด้สนโบราณคดี จำแนกซากดึกดำบรรพ์ออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง(Inventibate fossil) ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีกระดึกสันหลัง(Vertibate fossil) ซากดึกดำบรรพ์(Plant fossil) และร่องรอยของสัตว์ดึกดำบรรพ์
                สำหรับซากดึกดำบรรพ์ที่เราพบในตำบลท่าใหญ่ อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ นั้น จัดเป็นฟอสซิลประเภทสัตว์มีกระดูกสันหลังมีอายุมากกว่า 210 ปี เป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกไดโนเสาร์ กินพืชที่เราเรียกเป็นภาษาวิชาการว่า” ซอโรฟอส ”(sauropod)สายพันธุ์ Isanosaurus attabipachi ซึ่งพบในกลุ่มหินน้ำพองในยุคไทรแอสซิก ซึ่งมีช่วงอายุระหว่าง 200 – 251 ปี ล้านปี และที่สำคัญตำบลแห่งนี้เป็นแหล่งไดโนเสาร์แหล่งใหม่ ของโลกและมีการค้นพบฟอสซิลจำนวนมาก ซึ่งนับได้ว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ สำคัญของโลกทางด้านธรณีวิทยาขณะนี้กำลังรอการสำรวจและจัดตั้งพิพิธภัณฑ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวเต็มรูปแบบ ซึ่งย่อมก่อให้เกิดผลดีต่อพี่น้องประชาชนในจังหวัดชัยภูมิ
ประวัติการค้นพบ
                ในปี พ.ศ. 2549 ช่วงเดือนมิถุนายน มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งไปพบหินประหลาด ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับกระดูก โดยผู้พบชิ้นส่วนคนแรก คือ นายบุญชู คำเรืองศรี และนางประมวล คำเรืองศรี ซึ่งพบจำนวนมากได้นำเอาชิ้นส่วนดังกล่าวมาให้ นายภัทราวุธ สิมช้าครูวิทยาศาสตร์โรงเรียนบ้านโนนสะอาด และนายมารุด สิมช้า ครูวิทยาศาสตร์โรงเรียนเจียงทองพิทยาคม ซึ่งครูทั้งสองคนระบุว่านี่คือฟอสซิลของไดโนเสาร์อย่างแน่นอนซึ่งครูทั้งสองคนก็มีส่วนในการค้นพบชิ้นส่วนของฟอสซิลไดโนเสาร์นี้เช่นกันต่อมาได้มีการประสานงานไปยังเจ้าหน้าที่กรมทรพยากรธรณี เพื่อนำชิ้นส่วนของฟอสซิสไปสำรวจก็พบว่าเป็นฟอสซิลของไดโนเสาร์จริงและมีอายุประมาณ 210 ล้านปี (อายุอยู่ในช่วงไทรแอสซิกตอนปลายในชั้นหินกรวดมนสีน้ำตาลแดงของหมวดหินน้ำพอง)และเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรณี โดยการนำของท่าน ดร.วราวุติ สุธีธรณ์ ก็ได้นำเอาชิ้นส่วนของฟอสซิลกลับไปศึกษาและวิจัย ที่พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว จังหวัดกาฬสินธุ์ ภาพตอนพบครั้งแรกๆ พบกระดูกสันหลังขนาดใหญ่กลายเป็นเห็นโดย นายมารุด สิมช้า และมี ด.ญ.สุนิตตา คำเรืองศรี ด.ช.ชินวัตร ยัญศรี นักเรียนชั้น ป.5 และ ด.ช. นภัสกรณ์ ปาทา ถ่ายรูปเป็นหลักฐานด้วย ซึ่งมีเด็กหญิง สุนิตตา คำเรืองศรี และครอบครัวพบชิ้นส่วนมากที่สุด นี่นับผลงานที่เป็นผลผลิตที่แสดงถึงความภาคภูมิใจที่คุณครูและเด็กๆ ให้ความสนใจในการอนุรักษ์และหวงแหนมรดกของโรคเอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา ซึ่งพวกเราอยากให้อนาคตมีแหล่งศึกษาธรรมชาติและแหล่งมรดกทางอารยธรรมในระดับโลกที่สำคัญของคนไทยในท้องถิ่นของเรา ซึ่งไม่จำเป็นต้องไปศึกษาไกลถึงต่างประเทศ แต่เมืองไทยของเราก็มีแหล่งอารยธรรมในระดับโลกเช่นกัน ซึ่งจะสามารถขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกได้หรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับความร่วมมือร่วมใจของคนเราทุกคนที่จะต้องช่วยกันดูแลรักษาไว้ให้ลูกหลานสืบไป ภาพกลุ่มชาวบ้านที่ค้นพบฟอสซิล ของไดโนเสาร์ ถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกร่วมกับท่าน ดร.วราวุฒิ สุธีธรณื